วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

ถ้ารู้ซึ้งถึง Top 5 ของความเลวร้าย รัฐธรรมนูญ60 สนามเลือกตั้ง #สว67 จึงสำคัญมาก อาจจะสำคัญกว่าประชามติด้วยซ้ำ


สมัคร สว.ประชาชน เพื่อโหวตสว. 67 ล้างมรดก คสช. | TODAY LIVE

สำนักข่าวทูเดย์

Streamed live on Apr 19, 2024 

เงื่อนไขกติกาเลือก สว. ชุดใหม่ ที่ผู้สมัครด้วยเงิน 2,500 บาท เท่านั้นที่จะมีสิทธิโหวต ก่อนจะแบ่งกลุ่มแล้วเลือกไขว้กันเอง เปิดข้อครหาว่านี่เป็นมรดกของ คสช. ที่หวังเอื้อพวกพ้องมากกว่าจะสรรหาผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นที่มาของภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวครั้งใหญ่ หวังใช้สิทธิและจับตาการเลือก สว. ครั้งนี้แบบคนวงใน 

คุยกับ 
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการไอลอว์ ดำเนินรายการโดย อภิสิทธิ์ ดุจดา

https://www.youtube.com/watch?v=KzZ9C2GYsF8
.....
ยิ่งชีพ (เป๋า) @yingcheep
·17h

Top5ความเลวร้ายรัฐธรรมนูญ60 

๐ สว.เลือกนายกฯ >> 16 วันหมด 
๐ สว.แต่งตั้ง >> 16 วันหมด 
๐ ที่มาองค์กรอิสระ >> อีก 3 เดือนให้สว.ใหม่เลือก 
๐ ที่มาสว. >> แก้ได้ ถ้าสว.ใหม่เอา 
๐ ยุทธศาสตร์20ปี >> เศรษฐานั่งปธ.แทน ลุง สว.ใหม่มากำกับ 

สนาม #สว67 จึงสำคัญมาก อาจจะสำคัญกว่าประชามติด้วยซ้ำ



iLaw
11h·

รวมตารางกิจกรรม ทำเดินสายอธิบายกติกา ชวนมาร่วมเปลี่ยนสว.
.
พร้อมแล้ว เดินสายทั่วประเทศ ชวนทุกคนมาทำความรู้จักระบบการเลือกสว. ชุดใหม่ จากการ "แบ่งกลุ่มอาชีพ" และ "เลือกกันเอง" อันซับซ้อน มาทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถทำได้ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น มาร่วมเปลี่ยนสว. กันเถอะ
#สมัครเพื่อโหวต #สว67
.
27 เมษายน 2567
จังหวัด : ลำพูน
ชื่อกิจกรรม : สว. ชุดใหม่ พร้อมที่มาแบบใหม่ “เลือกกันเอง”
สถานที่ : หอศิลป์สล่าเลาเลือง ลำพูน
Google Map : https://maps.app.goo.gl/pqjT1oD2kzYP28VR9?g_st=ic
เวลา : 13.00-16.30 น.
.
จังหวัด : นครปฐม
ชื่อกิจกรรม : คาราวานรณรงค์ สมัครเพื่อโหวต นครปฐม
สถานที่ :
07.00 น. บริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง
10.00 น. ตลาดท่านา อ.นครชัยศรี
12.00 น. ตลาดน้ำดอนหวาย อ.สามพราน
17.00 น. ตลาดพันล้าน อ้อมใหญ่ อ.สามพราน
Google Map :
รอบองค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง : https://maps.app.goo.gl/eGRy4oPaFYjJAiz86
ตลาดท่านา อ.นครชัยศรี : https://maps.app.goo.gl/9u55CA7VkAHTqgcX6
ตลาดน้ำดอนหวาย อ.สามพราน : https://maps.app.goo.gl/q23kJhQqaiivLCq97
ตลาดพันล้าน อ้อมใหญ่ อ.สามพราน : https://maps.app.goo.gl/73KWaYEJn4jNT2UU8
เวลา : 07.00 - 18.00 น.
.
จังหวัด : ปัตตานี
ชื่อกิจกรรม : เสวนาโต๊ะกลม "คำถามประชามติรัฐธรรมนูญ เรา ได้-เสีย อะไร!! แล้ว สว.ประชาชน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร"
สถานที่ : Patani Center (หลังมัสยิดกลางปัตตานี)
Google Map : https://maps.app.goo.gl/yFTT7Q5BLCoKzBDA8
เวลา : 13.00 - 16.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/photo/?fbid=837865425041639&set=a.625533829608134
.
28 เมษายน 2567
จังหวัด : กรุงเทพฯ
ชื่อกิจกรรม : SENATOR for CHANGE แนะนำตัว ว่าที่ผู้สมัคร สว. กลุ่ม ศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน
สถานที่ : The Jim Thompson Art Center หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน
Google Map : https://maps.app.goo.gl/dz39YPyNFLh8n8sg6
เวลา : 16.00 - 18.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/profile.php?id=61558748035412
.
จังหวัด : พิษณุโลก
ชื่อกิจกรรม : เตรียมความพร้อมลุยสนามส.ว.67
สถานที่ : โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ พิษณุโลก
Google Map : https://maps.app.goo.gl/thXSTtx6dZQWqESJ7?g_st=ic
เวลา : 12.30 - 17.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/HqSmGezHUB7fuxTC/?mibextid=WC7FNe
.
จังหวัด : ลพบุรี
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนา : warm up สว 67
สถานที่ : รอคอนเฟิร์ม
เวลา : 11.00 - 17.00 น.
.
จังหวัด : สงขลา
ชื่อกิจกรรม : เสวนา สนามสว. ประชามติ รัฐธรรมนูญ + จำลองการเลือกสว.
สถานที่ : โรงแรม บีพี สมิหลา บีช BP Samila Beach Hotel สงขลา
Google Map : https://maps.app.goo.gl/DR9Pg2KQ6W6exGrNA
เวลา : 9.00-12.00 น.
.
จังหวัด : ภูเก็ต
สถานที่ : ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ภูเก็ต
Google Map : https://maps.app.goo.gl/1n4xB3SnsLDiM2nD7
เวลา : 09.30 – 12.00 น.
.
29 เมษายน 2567
จังหวัด : เลย
ชื่อกิจกรรม : สว. ไทเลย แม่นเฒ่า กะสดใส
สถานที่ : ร้านนูปคอฟฟี่ noob coffee สาขาราชภัฏเลย
Google Map : https://maps.app.goo.gl/mDbagkTA3xHqLNnf7
เวลา : 09.00 - 12.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/photo/?fbid=871680378335358&set=a.466938978809502
.
จังหวัด : ขอนแก่น
ชื่อกิจกรรม : สว. บ้านเฮาแม่นเฒ่ากะสดใส
สถานที่ : โรงแรม Xotel ขอนแก่น
Google Map : https://maps.app.goo.gl/tGyj2ZvsGenum37s6
เวลา : 09.30 - 12.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://live.staticflickr.com/.../53676508675_5eb59c9123...
.
2 พฤษภาคม 2567
จังหวัด : ชัยภูมิ
ชื่อกิจกรรม : เตรียมความพร้อมสว. ชัยภูมิ
สถานที่ : โรงแรมบันเดอร์ Bander Hotel ชัยภูมิ
Google Map : https://maps.app.goo.gl/4tXuV8v7ryHocMag7
เวลา : 14.00 - 17.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://live.staticflickr.com/.../53676508670_b8a26b3d3d...
.
จังหวัด : แม่ฮ่องสอน
ชื่อกิจกรรม : อบรม สว. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สถานที่ : สมาคมกระเหรี่ยงไทยแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
Google Map : https://maps.app.goo.gl/tGAggEFuw9zQYtxT9
เวลา : 09.00 - 16.00 น.
.
จังหวัด : สมุทรปราการ
สถานที่ : La Canal Café ลาคาแนล คาเฟ่ สมุทรปราการ
Google Map : https://maps.app.goo.gl/kPbv5FB9NqcZBhRF6
เวลา : 14.00-18.00 น.
.
3 พฤษภาคม 2567
จังหวัด : อุบลราชธานี
ชื่องาน : สว. อุบลมวนซื่น คืนอนาคตประเทศ
สถานที่ : คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ
Google Map : https://maps.app.goo.gl/NAz2oMjT5CzjZoC39
เวลา : 13.30 - 16.00 น.
.
4 พฤษภาคม 2567
จังหวัด : กรุงเทพฯ
ชื่อกิจกรรม : แคนดิเดตสว. ขอพูด
สถานที่ : โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ (The Emerald Hotel) ห้วยขวาง
Google Map : https://maps.app.goo.gl/UVPoM9NKxtCHBjNd8
เวลา : 13.00-17.00 น.
ราลเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/p/wVf5q8M2zJpisQDt/?mibextid=ox5AEW
.
จังหวัด : พิจิตร
ชื่อกิจกรรม : ทำไมต้องสมัครสว. 67
สถานที่ : Happy Plaza แฮปปี้พลาซ่า
Google Map : https://maps.app.goo.gl/6vvYKqyo3Vaeb3f3A
เวลา : 10.00 - 12.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/p/yBLZTyowxc2HZs6M/?mibextid=WC7FNe
.
5 พฤษภาคม 2567
จังหวัด : สุโขทัย
ชื่อกิจกรรม : วาระสว.ประชาชน คนโข่ทัยตื่นรู้
สถานที่ : เพ็ญจันทร์ รีสอร์ต สุโขทัย
Google Map : https://maps.app.goo.gl/MAsNahZSaGnDdmMt7
เวลา : 09.00 – 15.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://live.staticflickr.com/.../53677779799_f1a44b7987...
.
จังหวัด : กระบี่
ชื่อกิจกรรม : เสวนา “เลือกสว.ชุดใหม่ ประชาชนทำอะไรได้บ้าง?”
สถานที่ : ณ ห้องปลายพระยา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกระบี่
Google Map : https://maps.app.goo.gl/2WddFKxVYkwfXYJx5
เวลา : 13:00 – 17:00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/qvDLyUTcNytesLJd/?mibextid=WC7FNe
.
6 พฤษภาคม 2567
จังหวัด : ชลบุรี
สถานที่ : รอคอนเฟิร์ม


(https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02k2o9cPWeUfPedBNZUeZ2A8W9ReVpchPsYGENMWAtSFSEiUPjVH6aMDgUXgGYjvAul?ref=embed_post)
.....


https://www.youtube.com/watch?v=KzZ9C2GYsF8


ธ.ก.ส. มีสภาพคล่อง-สถานะการเงิน แข็งแกร่ง พอไหม หลังรัฐเตรียมดึงเงิน 1.7 แสนล้านบาท ใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

(https://www.facebook.com/watch/?v=810426837799507&t=0)

บีบีซีไทย - BBC Thai
11h·

เปิดสภาพคล่องของ ธ.ก.ส. ตรงไหนที่พอเป็นไปได้ ในวันที่ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลและ ธ.ก.ส. จะจัดสรรงบส่วนใดมารองรับวงเงิน 1.72 แสนล้านบาทนี้ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือฝั่งเกษตรกรในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
.
ธ.ก.ส. มีสภาพคล่อง-สถานะการเงิน แข็งแกร่ง พอไหม อ่านต่อ https://bbc.in/3WfSPHM


ลองคิดดู


ชีวิตบ้านๆ
9h
·
ลองคิดดู

(https://www.facebook.com/photo?fbid=996841072002614&set=a.740412780978779)
...

ชีวิตบ้านๆ
1d
·
อเมริกา
-ค่าแรงวันละ 5500 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 12000 บ./วัน
-ราคาอาหารจานละ 170-240 บ.
-ราคาหมูโลละ 160 บ.
-ราคาไก่ 110 บ.
-ราคาผักกําละ 12 บ.
-ราคาน้ำมันลิตรละ 34.168 บ.
**อังกฤษ
-ค่าแรงวันละ 3300 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 8000 บ./วัน
-ราคาอาหารจานละ 210-230 บ.
-ราคาหมู 200 บ.
-ราคาไก่ 150 บ.
-ราคาผักกําละ 15 บ.
-ราคาน้ำมันลิตรละ 66.385 บ.
**เยอรมัน
-ค่าแรงวันละ 5,000 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 10,000 บ./วัน
-ราคาอาหารจานละ 250-300 บาท
-ราคาหมูโลละ 160 บาท
-ราคาไก่โลละ 110 บาท
-ราคาผักกําละ 12 บาท
-ราคาน้ำมันลิตรละ 66.708 บ.
**ญี่ปุ่น
-ค่าแรงวันละ 2400 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 5000 บ./วัน
-อาหารจานละ 100-150 บ.
-ราคาหมูโลละ 140 บ.
-ราคาไก่ 70 บาท
-ราคาผักกําละ 10 บาท
-ราคาน้ำมันลิตรละ 48.126 บ.
**สิงคโปร์
-ค่าแรง 2100 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 6500 บ./วัน
-ราคาอาหาร 70-80 บ.
-ราคาหมูโลละ 130 บ.
-ราคาไก่โลละ 70 บ.
-ราคาผักกําละ 10 บ.
-ราคาน้ำมันลิตรละ 66.309 บ.
**ใต้หวัน
-ค่าแรง 1700 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 4500 บ./วัน
-ราคาหมูโลละ 130 บ.
-ราคาไก่โลละ 60 บ.
-ราคาอาหารจานละ 50- 60 บ.
-ราคาผักกําละ 10 บ.
-ราคาน้ำมันลิตรละ 37.614 บ.
**ไทย
-ค่าแรง 300-400 บ./วัน
-คนจบ ป.ตรี 600 บ./วัน
-ราคาอาหารจานละ 30-70 บ.
-ราคาหมูโลละ 220 บ.
-ราคาไก่โลละ 100-150 บ.
-ราคาผักกําละ 10-20 บ.
-ราคาน้ำมันลิตรละ 47บ.
(ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ราคา ณ เม.ย 67)
“ใช้ชีวิตเติบโตในประเทศนี้ได้ก็เก่งแล้ว”

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=995976025422452&set=a.740412780978779)


ยิ่งตั้งคำถามประชามติแบบนี้ ยิ่งทำให้คนคิดถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
15h
·
[ยิ่งตั้งคำถามประชามติแบบนี้ ยิ่งทำให้คนคิดถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์]
คณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาล ต้องการให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่แตะต้อง หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์
พวกเขาจึงต้องตั้งคำถามประชามติแบบนี้ เพื่อประกาศให้ “ผู้มีอำนาจทั้งหลาย” ในระบอบนี้รู้ว่า ตราบใดที่พวกเขายังอยู่ในอำนาจรัฐ จะไม่มีการแตะต้อง แก้ไข เปลี่ยนแปลงใดๆ ขอให้สบายใจว่ากฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญในหมวด 1 และ หมวด 2 จะเป็นแบบเดิมทุกประการ
แต่โดยไม่คาดคิด ยิ่งประกาศผ่านการตั้งคำถามประชามติแบบนี้ ก็กลับทำให้คนคิดถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์ขึ้นมา
ฝ่ายที่ต้องการปรับปรุง ก็แสดงความไม่เห็นด้วย ยืนยันว่า หมวด 1 หมวด 2 แก้ไขปรับปรุงได้
ฝ่ายที่ไม่อยากแตะ ก็ไชโย ดีใจ และถล่มด่าฝ่ายที่ต้องการปรับปรุง
ฝ่ายที่ไม่สนใจ อย่างไรก็ได้ ก็รับรู้ถึงประเด็นนี้ขึ้นมา อาจไต่ถามฝ่ายอยากแก้ว่า จะแก้อะไร
กลายเป็นว่า เรื่องหมวด 1 หมวด 2 กลับขึ้นมาเป็นประเด็นอีกในช่วงรณรงค์ประชามติ
หากพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลต้องการทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แทนที่จะไปประกาศผ่านคำถามประชามติ จนเป็นประเด็น ควรหันมาใช้กลไกแก้รายมาตราในหมวดอืนๆที่ต้องการแก้ไปเลย เสนอร่างแก้ไขเข้าไปในรัฐสภา
เช่นนี้ บรรยากาศการทำรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีประเด็นเรื่อง หมวด 1 หมวด 2 นักการเมือง สื่อมวลชน นักวิชาการ ประชาชน ก็ถูกบังคับโดยปริยายให้ถกเถียงกันในร่างแก้ไขในรัฐสภาที่ไม่มีเรื่องหมวด 1 หมวด 2 แล้ว
การตั้งคำถามประชามติแบบนี้ คือ อาการไฮเปอร์ตระหนกตกใจพะวง ต้องแสดงออกให้มากๆ ให้ชนชั้นนำผู้ปกครองสบายใจ
เดินไปตามปกติครรลองไม่ได้ ต้องประกาศดังๆแสดงตัวชัดๆ
ก็เลยกลายเป็นเรื่องยอกย้อนว่า… ไม่อยากทำ ไม่อยากให้พูด แต่ทำไปทำมา กลายเป็นคนยิ่งพูด ยิ่งตั้งคำถาม ยิ่งสนใจ
“อย่าคิดถึงช้าง”
“ยิ่งคิดถึงช้าง”



(https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/1048288076657250?ref=embed_post)
.....

Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
1d
·
[ถ้ารัฐบาลอยากทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยไม่แตะหมวด 1,2 ก็ไม่ควรเสี่ยงกับประชามติ 3 ครั้ง]
จุดยืนผม สนับสนุนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
การทำใหม่ทั้งฉบับ ก็คือ การทำใหม่ทุกหมวด ทุกมาตราอยู่แล้ว มีข้อห้ามแค่เพียงห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครองเท่านั้น
ในอดีต 40 50 60 ก็มีการปรับปรุงสองหมวดนี้มาโดยตลอด
ผมเองก็เห็นว่า ในหมวด 1 และหมวด 2 มีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง และเคยยกร่างเป็นแบบไว้แล้ว
เอาล่ะ แต่ถ้าพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาล ประสงค์จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ก็ไม่ควรเดิน “เกมเสี่ยง” ใช้ประชามติ 3 ครั้ง
แต่ควรเลือกทางที่ปลอดภัยกว่า ทางใด ทางหนึ่ง ดังนี้
1. ดำเนินการตามมติคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงที่สภาเมื่อวันที่ 22 ม.ค.67 ที่ยืนยันทำประชามติ 2 ครั้ง กล่าวคือ ส.ส.เสนอร่างแก้ไข รธน กำหนดให้มีการจัดทำ รธน ใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภา ก็ต้องมาประชามติ (ครั้งที่ 1) เมื่อผ่าน ก็เลือก สสร มาทำใหม่ เมื่อได้ร่างใหม่ ก็เอามาประชามติ (ครั้งที่ 2)
หากอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ให้ดี ศาลไม่ได้บอกว่าต้องทำ 3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง
หากแก้ในรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้ มี สสร ก่อน ก็ต้องไปจบที่ประชามติ ตามมาตรา 256 อยู่แล้ว เมื่อมี สสร มาร่างใหม่โดย สสร นี้ ก็ต้องไปจบที่ประชามติ เช่นนี้ ก็เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ
แต่ถ้ายังกังวลกันอีก ก็สามารถอธิบายได้ว่า การทำใหม่แบบไม่แก้ หมวด 1,2 ย่อมไม่ใช่การทำ รธน ใหม่ทั้งฉบับ ในความหมายที่ปรากฏในคำวินิจฉัย 4/64
หรือ
2. ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 รายมาตรา ตั้งแต่ มาตรา 25-มาตรา 279 ไปเลย เว้น มาตรา 1-24 ในหมวด 1 และ 2 ไว้
อาจบอกกันว่า แก้รายมาตรา จะไปติด สว อีก แต่สภาพดุลอำนาจตอนนี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะคุยกับ สว รู้เรื่องกว่าแต่ก่อน และ เดือนหน้า สว 250 คน ก็จะพ้นไปแล้ว
การใช้วิธีนี้ จะเป็นการไม่แก้ หมวด 1,2 โดยไม่ต้องพูดชัดแจ้งว่าจะไม่แก้หมวด 1,2 ให้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา
การใช้วิธีนี้ เป็นการยกประเด็นการแก้เรื่องหมวด 1 หมวด 2 ออกไปจากรัฐสภาโดยปริยาย สมาชิกและประชาชน ก็ต้องมาโฟกัสหมวดอื่นๆแทน

ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่รัฐบาลต้องการ (ไม่แตะหมวด 1,2)
โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับประชามติรอบแรกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน (เพราะ ถ้าไม่ผ่าน พวกสนับสนุน รธน 60 จะยิ่งอ้างความชอบธรรมมากขึ้น)
ไม่ต้องเสียเวลา
และประหยัดเงิน 3200 ล้านบาท

หากท่านไม่ชอบ คำถามประชามติ ต้องการ โหวตไม่เห็นด้วย เพราะรับไม่ได้ ไม่ใช่เพราะต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญ 60 ต้องทำยังไง ช่วยกันคิด



Yingcheep Atchanont
9h ·

ในการเลือกตั้ง หากต้องการจะ "งดออกเสียง"
บัตรเลือกตั้งจะมีช่องที่ชื่อว่า "ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด"
ส่วนในการทำประชามติ หากต้องการจะ "งดออกเสียง"
บัตรจะมีช่องที่ชื่อว่า "ไม่แสดงความคิดเห็น"
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2564/A/059/T_0001.PDF
.....

Aek SK
เสนอให้เขียนข้อความลงในบัตรครับ ใช้ "เขียนใหม่ทั่งฉบับ เลือกตั้ง 100%" หรือจะหาทางย่อก็ได้ ถ้าให้ดีมีคนไปถ่ายตอนนับคะแนนมาลงเยอะ ๆ ก็น่าพอสร้างแรงสะเทือนได้บ้าง
.....

Chotisak Onsoong
April 23 ·

ถ้าคำถามประชามติมีตัวเลือกแค่
1. แก้ แต่ยกเว้นไม่แตะหมวด 1 หมวด 2
กับ
2. ไม่แก้
ผมว่ามารณรงค์บอยคอต no vote กันดีกว่า
ไปโหวต ถ้าเลือก 1. ก็เท่ากับสร้างความชอบธรรมการไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่ถ้าเลือก 2. ก็ถูกตีความว่าไม่อยากให้แก้ ทั้งที่จริงๆเราอยากเขียนใหม่ทั้งฉบับ
แม่งเฮงซวยทั้งคู่

.....
Nutchapakorn Nummueng

ไม่รับ กับ รับไม่ได้ ไม่เหมือนกันครับ ภาคประชาชนเห็นว่า คำถามนี้ “รับไม่ได้” แต่ใครจะไม่รับ (Vote No) ไม่โหวต (งดออกเสียง) ไม่ร่วม (No Vote) อันนี้ตามแต่การตัดสินใจของคน
ที่สำคัญคือ ถ้าไม่รับ และ ไม่โหวต รวมกันมากกว่ากึ่งหนึ่งของคนที่ออกไปใช้สิทธิ ก็แปลว่า ผลการออกเสียงประชามติ ไม่ได้ข้อยุติ เท่ากับ การออกเสียงประชามตินี้ ไม่มีข้อสรุปและผลผูกผันใดๆ เป็นการทำประชามติที่สูญเปล่า
คำถามสำคัญกว่านั้นคือ ทำไมรัฐบาลถึงยอมทำประชามติที่เป็นไปได้ว่ามันจะสูญเปล่า เสียงบ 3,200 ล้าน โดยไม่ได้ข้อยุติ ในขณะเดียวกัน เรื่องนี้จะไม่สูญเปล่า ถ้าถามคำถามง่ายๆ ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่” แบบนี้ คนที่เถียงกันตรงนี้จะเดินหน้ากัน ‘เห็นชอบ’ คำถาม ยกเว้นแต่ฝ่ายที่ไม่ต้องการแก้จริงๆ
ทางออกมี ต้องช่วยกันพูดทางออกครับ
...
Pongtawas Max Prommawan

ถ้าแบบนี้ ผมก็ไปกา ค.แหละ ไม่เป็นไร มุ่งมั่นไปที่ สว.กับ องค์กรอิสระ ถ้าได้คนที่เป็นกลาง มีความเป็นประชาธิปไตยจริงๆ แล้วค่อยไปทำ รธน. ที่เป็นของประชาชนทีหลัง ตอนนี้ต่อให้ร่าง รธน.มาดีแค่ไหน ถ้าไปกระทบผลประโยชน์ของชนชั้นนำ เค้าก็ให้ องค์กรอิสระพวกของเค้า สอยตกอยู่ดี
...
Sittichoke Aupara

ก็ล้มมันไป รอ สว ชุดใหม่ที่อย่างน้อยก็คงดีกว่าชุดนี้บ้างเข้ามา แล้วก็ค่อยแก้กันใหม่ ไม่เห็นต้องรีบร้อนปล่อยผ่าน เพราะเจ็บกันมาเท่าไหร่แล้วกับคำว่า "รับๆ ไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง" น่ะ สู้ล้มไปเลยดีกว่า -.-
...
Jiw Jeed

สรุปสั้นๆ เพื่อไทยไม่ได้อยากแก้รธน.แล้ว แต่ดันไปหาเสียงไว้ ฉนั้นต้องหาทางโยนความผิดให้ใครสักคนที่ทำให้ทำตามนโยบายไม่ได้ ก็แค่นั้น


‘ไม่เห็นชอบ’ ไม่ใช่ ‘ไม่อยากแก้’ : The Standard รวบรวมความเห็น "ไม่โหวต Yes" และ ขอให้ ‘กลับไปทบทวน’ คำถามล็อกสเปก




‘ไม่โหวต Yes’ และ ‘กลับไปทบทวน’ เสียงถึงรัฐบาล ทางแพร่งคำถามประชามติ

THE STANDARD TEAM
24.04.2024

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามแนวทางที่รัฐบาลกุมบังเหียนเริ่มเดินเครื่องแล้ว โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางในการจัดทำ ‘ประชามติ 3 ครั้ง’ โดยคำถามที่จะใช้สำหรับประชามติครั้งแรกคือ

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”

แม้จะยังไม่ได้เคาะอย่างเป็นทางการ แต่ก็ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า รัฐบาลจะเดินหน้าต่อด้วยคำถามนี้ พร้อมคาดการณ์ว่า การทำประชามติจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ แต่เพราะเหตุใดจึงยังมีเสียงทัดทานให้รัฐบาล ‘แตะเบรก’ และ ‘ทบทวน’ คำถามดังกล่าว THE STANDARD รวบรวมความเห็นและความน่าจะเป็นต่างๆ ต่อคำถามประชามติมาให้ติดตาม

‘ขอให้ทบทวน’ อย่าล็อกสเปกบางหมวด

พรรคก้าวไกลเร่งขยับตัวแสดงความเห็นทันควัน โดยได้มีการเรียกประชุม สส. ภายในคืนวานนี้ (23 เมษายน) หลังปรากฏข่าวว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบแนวทางประชามติ ก่อนจะมีความคิดเห็นจาก พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. แบบบัญชีรายชื่อ โฆษกของพรรค ตามด้วยความเห็นในนามพรรคที่โพสต์ลงในช่องทางโซเชียลมีเดียในวันถัดมา

พริษฐ์และพรรคก้าวไกลยืนยันตรงกันว่า ต้องการให้รัฐบาลใช้เวลาที่ยังเหลือ ‘ทบทวน’ คำถามประชามติใหม่อีกครั้ง และใช้คำถามที่เปิดกว้างกว่า เข้าใจง่ายกว่า เช่น

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่?”

โดยพรรคก้าวไกลได้ยกเหตุผล 3 ข้อ ที่ทำให้เห็นว่าคำถามประชามตินี้มีปัญหา ประกอบด้วย
  • คำถามนี้มีการ ‘ยัดไส้’ เงื่อนไข (ไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2) จึงเสี่ยงที่ประชามติจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เพราะประชาชนไม่แน่ใจว่าต้องออกเสียงอย่างไร
  • คำถามนี้เสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาเชิงกฎหมาย
  • คำถามนี้เสี่ยงที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ได้สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง
ชัยธวัช ตุลาธน สส. แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีคนในรัฐบาลบางคนพยายามสร้างความเข้าใจว่า พรรคก้าวไกลต้องการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 มาก ซึ่งไม่ใช่ความจริง เพราะหลักการพื้นฐาน หากอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน รัฐธรรมนูญก็ควรจะแก้ได้ทุกหมวดตามที่ประชาชนตัดสินใจ

“ไม่ควรจะวางบรรทัดฐานทางการเมืองแบบนี้ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์” หัวหน้าพรรคก้าวไกลระบุ

ชัยธวัชย้ำด้วยว่า รัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจอย่างเดียว แต่มีเรื่องอื่นด้วย สมมติว่าในอนาคตมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีวุฒิสภา แล้วให้ใช้ระบบสภาเดี่ยวเหมือนประเทศไทยในอดีต แต่ในหมวด 1 มีถ้อยคำว่า ‘วุฒิสภา’ อยู่ จะเอาออกอย่างไร จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจเลย

“อยากให้รัฐบาลลองฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ส่วนตัวเชื่อว่า เป็นเสียงที่อยู่บนเจตนารมณ์ที่ดี อาจจะไม่ต้องถามความเห็นพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเดียว แต่ต้องหาความเห็นของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมต่างๆ” ชัยธวัชทิ้งท้าย

‘ไม่โหวต Yes’ เพราะขัดเจตนารมณ์

ในวันเดียวกัน ภาคประชาชนก็ได้ส่งเสียงไปถึงรัฐบาลทันที โดยเครือข่ายประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้อ่านแถลงการณ์แสดงความเห็นและจุดยืนต่อกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และคำถามประชามติของรัฐบาล ซึ่งสาระสำคัญเป็นไปในทาง ‘ไม่เห็นด้วย’ และ ‘ขอให้ทบทวน’ เช่นเดียวกัน

เครือข่ายฯ ได้ยืนยันในจุดยืนของคำถามประชามติที่ภาคประชาชนใช้สิทธิร่วมลงชื่อกันกว่า 2 แสนคน เพื่อเสนอให้รัฐบาลแล้ว คือ

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด?”

แถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ระบุต่อไปว่า คำถามดังกล่าว รัฐบาลก็ไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา “ไม่แม้แต่แยแสคำถามที่ประชาชนต้องลงแรง ลงชื่อบนกระดาษ ถ่ายเอกสาร แปลงข้อมูลจากกระดาษมาเป็นไฟล์ดิจิทัล แม้เราเคยยื่นหนังสือเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาเรื่องคำถามประชามติรัฐบาล ก็ไม่เคยได้รับการนัดหมายให้เข้าพบ”

เครือข่ายฯ มองว่า รัฐบาลกำลังใช้คำถามสร้างเงื่อนไข สร้างความขัดแย้ง และการถกเถียงให้กับหมวด1 และหมวด 2 โดยไม่จำเป็น รัฐบาลได้จุดไฟให้สังคมเกิดคำถามว่า ‘หมวด 1 และหมวด 2’ คืออะไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องห้ามแก้ไข และกำลังใช้ประเด็นนี้มาเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่

“เมื่อรัฐบาลเป็นเจ้าของคำถามนี้ จึงต้องเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่ตามมาด้วย หากผลลัพธ์จากการทำประชามติครั้งนี้ทำให้การเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนต้องหยุดชะงัก ก็คือความพ่ายแพ้ของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอีกต่อไป” แถลงการณ์ระบุ

ผู้สื่อข่าวสอบถามตัวแทนของเครือข่ายฯ ว่า หากรัฐบาลยืนยันใช้คำถามประชามติเดิมที่ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 ภาคประชาชนที่ต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องมีแนวทางการโหวตอย่างไร โดยได้คำตอบมาว่า “ไม่ทราบ” เพราะความซับซ้อนของคำถามดังกล่าว

“แต่ที่แน่ๆ คือ เราโหวต Yes ไม่ได้ เพราะจะเท่ากับเรากลืนเลือดตัวเอง ส่วนที่บอกว่าไม่ทราบ ไม่ได้แปลว่าจะปล่อยปละละเลย แต่เราต้องการเวลาในการปรึกษาหารือกับผู้คนที่ร่วมในขบวนการและอีกหลายแสนคน สิ่งเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนหาทางออก และยังมีเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ประชามติ ที่ยังไม่ชัดเจน” ตัวแทนของเครือข่ายฯ อธิบาย

‘ไม่เห็นชอบ’ ไม่ใช่ ‘ไม่อยากแก้’?

อย่างไรก็ตาม จุดร่วมหนึ่งที่ทั้งพรรคก้าวไกลและตัวแทนภาคประชาชนยืนยันตรงกันได้ก็คือ การตั้งข้อสังเกต คัดค้าน ตลอดจนไม่เห็นชอบกับคำถามประชามติของรัฐบาล ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ต้องการเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือพวกเขาต้องการอยู่กับรัฐธรรมนูญฉบับเดิมต่อไป

แต่ความคิดเห็นเหล่านี้คือการส่งเสียงไปให้รัฐบาลรับรู้ว่า พวกเขาไม่ปรารถนาจะเดินตามเกมที่ถูก ‘บีบให้ยอม’ หรือ ‘รับไปก่อน’ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ทว่าทั้งหมดที่ทำได้ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันนี้คือ เพียงหวังให้รัฐบาลกลับไปทบทวนว่าจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของคำถามหรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันไว้ว่า จะบอกว่าเราไม่มีส่วนร่วมกับภาคประชาชนไม่ได้ เพราะเราจะเสนอความเห็นที่แตกต่างทั้งหมดเข้า ครม. และตนเองก็ได้เชิญทั้งพรรคฝ่ายค้านและกลุ่ม iLaw เข้าร่วมในคณะกรรมการแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธ

“นอกจากนี้ เราได้ไปสอบถามความเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค เพราะฉะนั้น จะบอกว่าเราไม่คุยกับประชาชนไม่ได้ หากจะขาดความเห็นใครไปบ้างก็คงขาดจากพรรคฝ่ายค้านที่ปฏิเสธไม่เข้าร่วมคณะกรรมการ” ภูมิธรรมกล่าว

และหากผลประชามติไม่ผ่านหรือจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ครบ ภูมิธรรมชี้ว่า ก็ต้องกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2560 แต่ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงก็ขอให้แก้ไขด้วยกระบวนการประชาชน ยืนยันเราจะทำให้ดีที่สุด

“อยากให้ฝ่ายค้านพิจารณาให้รอบคอบ หากจะไปเคลื่อนไหวไม่ให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้น ก็แสดงว่าอยากกลับไปอยู่แบบในช่วงรัฐประหารใช่หรือไม่” ภูมิธรรมกล่าว

คงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า ในความคิดเห็นที่อยู่บนทางขนานของคำถามประชามติครั้งแรกนี้ จะนำไปสู่ผลลัพธ์และความเปลี่ยนแปลงแบบใด โดยหลายฝ่ายก็คาดการณ์ไปถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด นั่นคือการทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่จะ ‘ล่ม’ ตั้งแต่ด่านแรก

https://thestandard.co/dont-vote-yes-referendum-question/


รัฐบาลเพื่อไทย ถ้าอยากให้ประชามติ ผ่าน ต้องมีเสียง vote yes อย่างน้อย 13.25 ล้านเสียง (เสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้น) ซึ่งไม่ง่าย ยิ่งใช้คำถามที่มีปัญหา เสียงสนับสนุนอาจน้องลงไปอีก



รัฐบาลเพื่อไทย ต้องมีอย่างน้อย 13.25 ล้านเสียง เพื่อผ่านประชามติ “คำถามติดล็อก”

เมษายน 25, 2024
iLaw

23 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีที่นำโดยพรรคเพื่อไทยมีมติให้ทำประชามติเพื่อไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งวางแผนจะทำประชามติสามครั้ง และในครั้งแรกจะจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 โดยใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นการตัดสินใจใช้คำถามที่สร้างเงื่อนไข และขัดแย้งกับข้อเสนอที่ประชาชนเคยผลักดันให้เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ “ทั้งฉบับ”

การตั้งคำถามในการทำประชามติเช่นนี้ เท่ากับมีการถามประชาชนสองประเด็นในคำถามเดียว คือ

1) ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

2) ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ซึ่งหากประชาชนเห็นด้วยทั้งประเด็นข้อ 1) และข้อ 2) ก็จะลงคะแนน “เห็นชอบ” แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับประเด็นทั้งข้อ 1) และข้อ 2) ก็จะลงคะแนน “ไม่เห็นชอบ”

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่เห็นว่า ต้องมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ทั้งฉบับ” หรือต้องมีการเขียนใหม่ได้ “ทุกหมวดทุกมาตรา” ก็คือเห็นด้วยกับประเด็นข้อ 1) แต่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นข้อ 2) และยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่เห็นว่า ไม่ควรให้มีการแก้ไขสิ่งใดๆ ในรัฐธรรมนูญ 2560 เลยแม้แต่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ ไม่เห็นด้วยกับประเด็นข้อ 1) แต่เห็นด้วยกับประเด็นข้อ 2) ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้จะถูก “มัดมือชก” ให้ไม่มีทางเลือกในการทำประชามติครั้งนี้



เมื่อคำถามไม่มีทางเลือก จึงไม่อาจโหวตเห็นชอบ


สำหรับประชาชนที่ไม่มีทางเลือกในการออกเสียงประชามติ จึงไม่อาจลงคะแนน “เห็นชอบ” เพราะไม่ได้เห็นด้วยกับหลักการตามที่คำถามนั้นตั้งไว้ โดยยังมีความเป็นไปได้ว่าประชาชนที่ไม่มีทางเลือกก็อาจตัดสินใจทางใดทางหนึ่งต่อไปนี้

1) ไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน เพราะอาจไม่รู้ว่าจะตอบคำถามนี้อย่างไร

2) ไปใช้สิทธิ แต่ลงคะแนนในช่อง “ไม่แสดงความคิดเห็น”

3) ไปใช้สิทธิและจงใจทำบัตรเสีย โดยการไม่กาช่องใด หรือขีดเขียนข้อความอื่นลงในบัตร

4) ไม่ใช้สิทธิลงคะแนน “ไม่เห็นชอบ” เพราะไม่เห็นด้วยกับคำถาม

ทำให้เสียงประชาชนที่อาจจะลงคะแนน “เห็นชอบ” มีน้อยลง แม้ว่าประชาชนทั้งสี่กลุ่มนี้เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ตาม


เกณฑ์ “เสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้น” อาจทำให้ประชามติไม่ผ่าน

โจทย์ที่เป็นประเด็นสำคัญต่อไป คือ ในการทำประชามติครั้งนี้ จะต้องอาศัยกฎเกณฑ์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 (พ.ร.บ.ประชามติฯ) ซึ่งมาตรา 13 กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ “เสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้น” หรือ Double majority ที่อาจเป็นเงื่อนไขให้การทำประชามติล้มเหลวได้

“มาตรา 13 การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามตินั้น”

ความหมายของมาตรา 13 คือ การทำประชามติจะมีข้อยุติว่า “ผ่าน” จะต้องมีเงื่อนไขสองชั้นที่ต่อเนื่องกัน

ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง เช่น ถ้า “ผู้มีสิทธิออกเสียง” มีจำนวน 50 ล้านคน ต้องมี “ผู้ออกมาใช้สิทธิ” มากกว่า 25 ล้านคน ถ้าผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยกว่านั้นจะทำให้ประชามตินั้นตกไป

ชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนเสียงที่ “เห็นชอบ” เกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ เช่น ถ้ามีผู้ออกมาใช้สิทธิจำนวน 30 ล้านคน ต้องมีผู้ลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับประเด็นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเกิน 15 ล้านคน ผลการออกเสียงจึงจะเป็นข้อยุติ

หากไม่ครบเงื่อนไขทั้งสองชั้นก็จะถือว่าการทำประชามตินั้น “ไม่มีข้อยุติ” แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชน “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” สำหรับการจัดทำประชามติที่ต้องการความเห็นชอบจากประชาชนเพื่อเดินหน้าทำกระบวนการใดต่อ ประชามติที่ “ไม่มีข้อยุติ” ก็เท่ากับ “ไม่ผ่าน” ความเห็นชอบจากประชาชนนั่นเอง

ต้องการเสียง 13.25 ล้านคนประชามติจึงจะ “ผ่าน”

ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 13 เช่นนี้ หมายความหากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจจะส่งผลต่อการลงประชามติว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านด้วย หรือหากประชาชนไปออกเสียงแต่ทำบัตรเสีย ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือหากประชาชนลงคะแนนในช่อง “ไม่แสดงความคิดเห็น” ก็จะส่งผลต่อการลงประชามติว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านด้วย

สำหรับการเลือกตั้งสส. ในปี 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งเคยประกาศว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทยมี 52.28 ล้านคน ดังนั้นในการลงประชามติที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 ซึ่งผู้ที่มีอายุถึง 18 ปี มีจำนวนมากขึ้น ก็คาดหมายได้ว่าจะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างน้อย 53 ล้านคน หากประชามติครั้งนี้จะได้รับความเห็นชอบจากประชาชน คณะรัฐมนตรีที่นำโดยพรรคเพื่อไทยจะต้องการเสียงสนับสนุนจากประชาชน ดังนี้

ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้ออกไปใช้สิทธิ “เกินครึ่ง” หรือ 26.5 ล้านคน

ชั้นที่ 2 ต้องมีผู้ลงคะแนน “เห็นชอบ” เกินครึ่ง หรือ 13.25 ล้านคน

หากไม่ได้เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งแล้วประชามติครั้งนี้จะได้ผลสรุปว่า “ไม่ผ่าน”

อย่างไรก็ดี สส. จากพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ได้นำเสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติฯ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว หากมีการแก้ไขเสร็จสิ้นก่อนการทำประชามติก็อาจทำให้หลักเกณฑ์ที่ประชามติจะผ่านหรือไม่ผ่านเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าหากรัฐสภาพิจารณาแก้ไขเสร็จสิ้นไม่ทันก่อนการทำประชามติครั้งนี้ รัฐบาลก็ยังต้องอาศัยเสียงรับรองจากประชาชนอย่างน้อย 13.25 ล้านเสียงเพื่อจะผ่านประชามติ

ในการทำประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2550 ผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 45 ล้านคน มีผู้ลงคะแนนเห็นชอบ 14,727,306 คน

ในการทำประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2559 ผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 50 ล้านคน มีผู้ลงคะแนนเห็นชอบ 16,820,402 คน

https://www.ilaw.or.th/articles/30296

สินค้าไทย ทำไมโลกไม่ต้องการ


ส่งออกแบกไม่ไหว เศรษฐกิจไทยจะไม่โตเท่าในอดีต | KEY MESSAGES #132

THE STANDARD

Apr 20, 2024

ภาคการส่งออกคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย แต่วันนี้สินค้าชูโรงที่เคยทำให้ไทยโดดเด่น กำลังกลายเป็นสินค้าที่โลกไม่ต้องการ และอาจทำให้อนาคตของประเทศไม่สดใสอีกต่อไป 

Time Index 
0:00 Intro 
0:33 เริ่มเนื้อหา 
6:49 ไทยผู้ผลิตสินค้าที่กำลังจะตาย 
10:53 เวียดนาม-มาเลเซีย โตไม่รอไทย 
14:20 แค่รับจ้างผลิต จุดอ่อนของไทย 
17:17 เศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ 

เรื่อง: สุธามาส ทวินันท์ 
ตัดต่อ: วชิระ มากทรัพย์

https://www.youtube.com/watch?v=HbO50lkYsWg
.....
Veerayooth Kanchoochat - วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร
· 2d

ถ้าไม่เจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ไทยจะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 ได้หรือไม่?
.
เพิ่งไปคุยกับ KEY MESSAGES ของ The Standard เรื่องการส่งออกมา เลยถือโอกาสขยายความอีกทีครับ
https://www.youtube.com/watch?v=HbO50lkYsWg
#ทุนนิยมพวกพ้อง
.
ความทรงจำแรกของสังคมไทยที่มีต่อวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 คงเป็นเรื่องการโจมตีค่าเงิน (currency attack) พาดหัวข่าวเต็มไปด้วยชื่อจอร์จ โซรอส ตามมาด้วยคำฝรั่งอย่าง IMF NPLs และ Haircut
.
นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักฟันธงว่า ไทยประสบวิกฤตก็เพราะ “ทุนนิยมพวกพ้อง” (crony capitalism) ที่คอนเน็คชันระหว่างนักธุรกิจและนักการเมืองนำไปสู่การปล่อยกู้ที่ไร้ประสิทธิภาพและการเก็งกำไร
.
ทางออกเดียวคือการปฏิรูปเพื่อลดบทบาทของรัฐ ให้รัฐเข้ามาวุ่นวายกับ “กลไกตลาด” ให้น้อยที่สุด
.
ที่ว่ามาข้างต้นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว ปัญหาเฉพาะหน้าของไทยในตอนนั้นอยู่ที่ค่าเงินบาทและตลาดทุนจริง แต่พอทั้งสังคมพากันสนใจแต่การโจมตีค่าเงินและฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ปัญหาใหญ่กว่านั้นจึงถูกลืมไป
.
คำถามที่จะทำให้เราตั้งหลักได้จริงๆ แล้วคือ หากไม่มีฟองสบู่อสังหาและการโจมตีค่าเงิน ไทยจะกลายเป็นประเทศรายได้สูงเหมือนกับเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ได้หรือไม่
.
คำตอบค่อนไปทาง ไม่
.
เพราะกลไกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยช่วง 2520-2540 แตกต่างจากเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตะวันออกอย่างสิ้นเชิง
.
#จะพัฒนาหรือเอาแค่โต
.
การเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) เป็นคนละเรื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development)
.
หากวัดกันแค่ตัวเลขการเติบโต ประเทศไทยแทบไม่แพ้ใครในโลก บางปีเราโตสูงที่สุดในโลกด้วยซ้ำ
.
แต่ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวล้วนต้องสร้างและต่อยอดความสามารถในการผลิตของประเทศเพื่อแข่งขันในตลาดโลก ต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง ซึ่งมีทั้งเก่งด้านกระบวนการอย่างไต้หวัน หรือเก่งด้านผลิตภัณฑ์อย่างเกาหลีใต้
.
ในขณะที่ตัวเลขการเติบโตรายปีอาจเกิดจากวิธีที่ง่ายกว่านั้น เช่น เปิดเสรีให้กิจการต่างชาติมาลงทุน คลื่นนักท่องเที่ยวไหลเข้ามาฉับพลัน หรือแม้แต่โชคชะตาอำนวย เช่น บางประเทศในแอฟริกาเพียงขุดพบน้ำมันก็ทำให้รายได้ต่อหัวก้าวกระโดดชั่วข้ามคืน
.
เอเชียตะวันออกให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ทันสมัย จึงดำเนินมาตรการอย่างการปฏิรูปที่ดินอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบโจทย์การเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตร โยกย้ายคนไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ
.
จากนั้นก็มีนโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมายจริงจัง แต่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามลำดับ จากแรงงานเข้มข้นสู่อุตสาหกรรมไฮเทค บริษัทธุรกิจที่รัฐให้ความช่วยเหลือจะต้องทำผลงานในตลาดส่งออกให้ได้ตามเป้า
.
ถึงแม้จะมีความแตกต่างภายใน โดยเฉพาะหัวหอกเศรษฐกิจที่เกาหลีใต้ใช้กิจการขนาดใหญ่นำ ส่วนไต้หวันใช้บริษัทขนาดกลางและเล็กในขณะที่สิงคโปร์ใช้รัฐวิสาหกิจกับบรรษัทข้ามชาติ
.
แต่จุดร่วมกันของบรรดาเสือเอเชียตะวันออกคือ การให้ความสำคัญกับนโยบายอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศให้ทันชาติตะวันตก
.
สิ่งนี้เองที่ไทยแตกต่างจากเอเชียตะวันออกมากที่สุด
.
เพราะเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกจนวิกฤตต้มยำกุ้งมีธนาคารพาณิชย์เป็นหัวหอกผู้จัดสรรเงินลงทุน รัฐบาลและเทคโนแครตไทยไม่สนใจการพัฒนาอุตสาหกรรม การยกระดับเทคโนโลยีไม่เคยอยู่ในวาระแห่งชาติ
.
เราเพิ่งจะมีแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างจริงจังก็เมื่อปี 2555 นี่เอง
.
#ส่งออกดีแต่ขาดดุลเทคโนโลยี
.
อันที่จริง ในสภาวะยากลำบากหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยยังมีโชคดีเช่นกัน เพราะได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนลงเกือบเท่าตัว ทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีราคาถูกลงในตลาดโลก
.
ช่วงรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523-2531) ที่เรียกกันว่ายุค “โชติช่วงชัชวาล” ไทยยังมีสัดส่วนการส่งออกแค่ 25-30% ต่อจีดีพีเท่านั้น
.
การส่งออกกลายมาเป็น “เครื่องยนต์หลัก” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยก็เมื่อหลังต้มยำกุ้งนี่เอง โดยสัดส่วนการส่งออกทะยานขึ้นไปแตะระดับ 60-70% ต่อจีดีพี
.
กลายเป็นความโชคดีในความโชคร้าย
การส่งออกกลายเป็น “ลมหนุน” ที่พาเศรษฐกิจไทยให้ลอยต่อไปได้อีกเฮือกหลังวิกฤตครั้งใหญ่
.
อย่างไรก็ดี ภายใต้ตัวเลขการส่งออกที่ทะยานสูง ตัวเลขที่ถีบตัวสูงขึ้นไปพร้อมๆ กัน คือ “การขาดดุลทางเทคโนโลยี” หรือ Technology deficit
.
แปลว่า การส่งออกของไทยนั้นพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก เราจึงต้องจ่ายค่ารอยัลตี้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ตลอดจนค่าธรรมเนียมความรู้ทางเทคนิค
.
จากที่เคยขาดดุลประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปีในช่วงต้นทศวรรษ 2550 ก็เพิ่มขึ้นเป็นการขาดดุลกว่า 250,000 ล้านบาท ตามข้อมูลล่าสุดในปี 2561
.
ในอาเซียน มีเพียงสิงคโปร์และอินโดนีเซีย สองประเทศเท่านั้นที่สามารถส่งออกสูงและเกินดุลทางเทคโนโลยีได้
.
ส่วนมาเลเซียก็ขาดดุลทางเทคโลยีเช่นกัน แต่มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการขาดดุลให้น้อยลงในอนาคต
.
หากฟังข่าวเศรษฐกิจ เรามักจะได้ยินแต่เพียงการแกว่งขึ้นลงของตัวเลขการส่งออกนำเข้า รายเดือน รายปี
.
แต่หากเราอยากเรียนรู้จากอดีตของเราเอง บทเรียนสำคัญข้อหนึ่งคือ ต้องมองให้ทะลุตัวเลขระยะสั้น มองให้เห็นเนื้อแท้ของการเติบโตว่ามาจากไหนกันแน่
.
Technology deficit ควรได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะเป็นตัวสะท้อนเนื้อในของความสามารถ เป็นตัวเช็คสุขภาพภายในที่ต้องคอยจับตา
.
เพื่อให้ไทยเป็น "เสือ" ที่แข็งแรงจากภายใน


ชวนเขียนจดหมายถึงเพื่อนเรา บอกเล่าเรื่องราว อัพเดทข่าวสาร ส่งกำลังใจ เขียนอะไรก็ได้ตามที่ใจอยากเขียน เพื่อนเรารออ่านอยู่นะ 🙂 #TheyAreStillFree


โมกหลวงริมน้ำ
Yesterday·

ชวนเขียนจดหมายถึงเพื่อนเรา บอกเล่าเรื่องราว อัพเดทข่าวสาร ส่งกำลังใจ เขียนอะไรก็ได้ตามที่ใจอยากเขียน เราจะส่งจดหมายนี้ถึงเพื่อนในเรือนจำ
สามารถคลิกลิงก์ : https://forms.gle/eStW4nk1PCT8z4FG7
หรือสแกน QR Code ตามภาพด้านล่างได้เลย
เพื่อนเรารออ่านอยู่นะ
#TheyAreStillFree

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1102656377437145&set=a.600505920985529


อ.จรัล แชร์ บทกวี วิสา คัญทัพ กวีศรีประชา สดุดี ท่านปรีดี พนมยงค์ หลังวันที่ท่านจากไป ยังจริงทุกถ้อยคำ


Jaran Ditapichai
9h·

เที่ยงนี้ ผมคุยกับวิสา คัญทัพ กวีศรีประชา ขณะนั่งกินอาหาร ผมบอกว่า จะมีงานเปิดบ้านปรีดี 17-18 พฤษภาคม และจำได้หลังวันท่านปรีดี พนมยงค์ ถึงแก่อสัญกรรม คุณเขียนบทกวีรำลึกสดุดีด้วย ผมจึงขอนำเผยแพร่อีกครั้ง
 
มีก็เหมือนไม่มีประวัติศาสตร์
พลิกหน้าไหนก็ผิดพลาดเสียทั้งนั้น
เฉพาะตอนต้องกำหนดบทสำคัญ
ดำเป็นขาว ขาวพลัน เป็นดำไป

ไม่รู้ใครต่อสู้กอบกู้ชาติ
ไม่รู้ใครขายเอกราชอันยิ่งใหญ่
ไม่รู้ใครรักประชาธิปไตย
ใครทำลายถวายให้เผด็จการ

มากอนุสาวรีย์ มีให้เห็น
ก็ชื่นชมเช้าเย็นเวลาผ่าน
แต่พิเคราะห์เงื่อนงำแห่งตำนาน
กลับต้องถอนใจสะท้านทุกทีไป

ประเทศไทยในรอบหนึ่งร้อยปี
นานครั้งบังเกิดมีแผ่นดินไหว
ชะรอยแตกขยับรับศพใคร
รับศพรัฐบุรุษไทยผู้เที่ยงธรรม

วิสา คัญทัพ

(https://www.facebook.com/photo?fbid=7188140861294788&set=a.287476558027954)


iLaw ยิ่งค้นก็ยิ่งเจอ คนดีย์บอกเลยไม่ดีหรือว่า ทั้งเล่มเนี่ย มีตรงไหนเป็นของตัวเองบ้าง จะได้จบ iLaw จะได้ไปทำเรื่องอื่นต่อ

https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02mBdeTBmcoHuYxwPNSvxJvznkFkTnyzBZeHL6pxqhnj6oMQbvZvUYn3PNK96VLS5tl?ref=embed_post

iLaw
10h·

แม้ว่ามีการเปิดเผยว่าดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) แต่งตั้ง จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีข้อความเหมือนกับผลงานชิ้นอื่นหลายส่วน และหลังจากนั้นสมชายก็ได้แก้ไขโดยเพิ่มเชิงอรรถ (footnote) จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่ามีข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะจากบทความในเว็บไซต์ Wikipedia มาอย่างน้อยห้าจุดโดยไม่มีการอ้างอิง ได้แก่
.
1. หน้า 24-25 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “นิติธรรม” ในส่วนความสับสนระหว่างหลักนิติรัฐและนิติธรรม https://th.wikipedia.org/wiki/นิติธรรม
.
2. หน้า 33 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบรัฐสภา” ในส่วนคำอธิบายระบบรัฐสภา https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบรัฐสภา
.
3. หน้า 34-35 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบสภาเดียว” ในส่วนของแนวความคิดในหมู่ประเทศที่นิยมสภาเดียว (https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสภาเดียว)
.
4. หน้า 35 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “ระบบสองสภา” ในส่วนคำอธิบายและทฤษฎีของระบบสองสภา (https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสองสภา)
.
5. หน้า 105 ของดุษฎีนิพนธ์ คัดลอกจากบทความ “วุฒิสภาฝรั่งเศส” ในส่วนข้อมูลของวุฒิสภาฝรั่งเศส (https://th.wikipedia.org/wiki/วุฒิสภาฝรั่งเศส) นอกจากนี้ ในส่วนต่อมาของหน้า 106 ยังมีข้อความเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสที่เหมือนกับหน้าที่ 16 ของหนังสือ “โครงการศึกษาวิเคราะห์ เรื่องที่มาและอํานาจหน้าที่ของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย” โดยมานิต จุมปา และคณะ ในกรณีหลังนี้มีการใส่เชิงอรรถเอาไว้แต่ข้อความเหมือนกัน
.
(https://www.ilaw.or.th/articles/29527)
.....
ยิ่งชีพ (เป๋า) @yingcheep
·5h

เรื่องดุษฎีนิพนธ์ป.เอก มีแค่นี้แล้ว มธ.ก็ชี้แจงแล้ว
ถ้าใช้เวลากับมันต่อ ก็มีอีกเยอะ 
โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้าง หลักสูตร เครือข่ายอุปถัมภ์ 
แต่เรื่องอื่นมันเข้ามาเยอะ เร่งด่วน และสำคัญ 

หวังว่าทุกท่านช่วยกันรี โคว้ท แชร์ เรื่องการการสมัคร #สว67 และ #ประชามติ กันเยอะๆๆกว่าเดิมนะครับ


ปิดทองหลังพระ เกือบเนียน


Gaigar @Gaigar999

“จิตอาสา สร้างแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า” พล.พัฒนาที่ 1 จัดกำลังพลจิตอาสา ร่วมกับ เจ้าหน้าที่โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ เข้าดำเนินการควบคุมไฟป่า บริเวณด้านหน้า สนง.โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาฯ บ้านห้วยผาก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 
#RTA

บก.ลายจุด @nuling

โคตรปลอม 
- เอาไม้ตบไปตบหญ้าเขียว 
- เอาไม้ตบไปตบแนวดำ ที่ไม่มีไฟ ไม่มีแม้แต่ควัน
...
@saturnly
เป็นลักษณะการเกิดไฟป่าที่แปลกประหลาดมาก?? 🔥
.....




วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

ข่าวดีอีกแระ ลดค่าทางด่วน ราวๆ ๘๐ ล้านบาท แลกกับให้สัมปทานบริษัทรถไฟฟ้า กว่า ๔ แสนล้านบาท

ข่าวดีอีกแระ จากรัฐบาล เซร็ตต้าถุงเท้าแดง ผ่านทาง รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ลดค่าทางด่วน ขั้นที่ ๒ สายงามวงศ์วาน-พระราม ๙ จากราคาขั้นสูง ๙๐ บาทเหลือ ๕๐ บาท ประชาชนร้องเย้ได้คำเดียว เจอเสียงทักจากฝ่ายค้าน

สำนวนสแลงฝรั่งจะถามว่า What’s a catch? มีอะไรไปแลก อ๋อแน่ละ ของมันต้องมี “ขยายสัญญาสัมปทานให้กับ BEM ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 ตุลาคม 2578 พร้อมกับการพิจารณาแบ่งสัดส่วนรายได้ โดย กทพ.จะมีรายได้ลดลง”

ด้วยความเห็นใจ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ที่จะต้อง “รับภาระในการลงทุนก่อสร้างโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 สายงามวงศ์วาน-พระราม 9 (Double Deck)” ตัวเลขกลมๆ เท่าไหร่รออีกสองเดือนได้รู้แจ้ง ของเดิมขณะนี้ การทางฯ ได้ ๖๐ รถไฟฟ้าฯ เอาไป ๔๐

แต่เบื้องต้นขอให้ประชาชนรับ A catchphrase คำชวนเชื่อชวนชื่นกันไปก่อนว่า “การปรับลดค่าผ่านทางในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก” ประชากรหน้าบานถ้าไม่รู้เบื้องหลัง จาก ส.ส.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ

“ลดค่าทางด่วน คือการโฆษณาเพื่อสร้างกระแสผลักดัน เป้าหมายหลักที่แท้จริงของบริษัทและรัฐบาล คือจะขยายสัมปทานให้ BEM อีกประมาณ 15 ปี เขาแนะให้ย้อนไปดูการอภิปรายตรวจสอบรัฐบาล คสช.ของเขาเมื่อครั้งเป็น ส.ส.อนาคตใหม่

“จาก #ค่าโง่ กลายเป็น #ค่าแกล้งโง่ ซึ่งเป็นความพยายามของนายทุนเพื่อผูกขาด แล้วหาเรื่องขยายสัมปทาน ออกไปเรื่อยๆ” ในครั้งนั้น การทางพิเศษต้องเสียค่าโง่ไปแล้ว ๔,๓๑๘ ล้านบาท กับรายได้ที่จะเสียไปกับสัมปทานใหม่อีก ๔๒๔,๗๕๖ ล้านบาท

เทียบกับครั้งนี้คิดคร่าวๆ มูลค่าที่ได้จากการลดค่าทางด่วน (๙๐-๕๐ = ๔๐ x ๒ ล้าน =๘๐ ล้าน) คิดอย่างนังแบก คงบอกว่าเหลือจะคุ้ม ได้ค่าประชานิยมให้ประชาชน ๘๐ ล้านบาท จากการยกสัมปทานให้นายทุน (๔๒๔,๗๕๖ +๔,๓๑๘) = ๔๒๙,๐๗๔ ล้านบาท

(https://twitter.com/pravinvongvuth/status/1783331880877818046 และ https://mono29.com/news/481550.html)